Posted by: saduemueangchiangrai | พฤศจิกายน 22, 2010

ประวัติเสาสะดือเมืองเชียงราย

เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง) เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนและเมือง สำหรับจังหวัดเชียงรายจะเรียกเสาหลักเมืองว่าเสาสะดือเมือง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า เมื่อครั้งการสร้างเมืองครั้งแรกใช้คำว่า “เสาสะดือเมือง” ไม่ใช้คำว่าเสาหลักเมือง
เสาสะดือเมืองเชียงรายแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา หรือ 5 รอบ และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายมหาราช ผู้ทรงสร้างเมืองเชียงรายเนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองการสร้างเมืองเชียงรายครบ 725 ปี โดยนายอร่าม เอี่ยมอรุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้เป็นแม่งานร่วมกับหน่วยงานราชการ เช่น สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน และรัฐบาลเยอรมัน
ลักษณะของเสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างขึ้นโดยยึดตามรูปแบบเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งปกติเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อจะสร้างด้วยไม้ แต่เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน ซึ่งสร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก ทั้งนี้เพื่อความคงทนถาวร โดยบริเวณที่ตั้งเสาสะดือเมืองแห่งนี้เรียกว่าดอยจอมทอง ซึ่งตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าพญามังรายได้เสด็จมาหาตามช้างของพระองค์ซึ่งหนีเตลิดมา เมื่อพระองค์ได้ทรงพบว่าสถานที่แห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสมในการสร้างบ้านเมือง จึงโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น
เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอมแบบพนมบาแกง โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน ลานด้านในยกเป็นชั้นๆ จำนวน 6 ชั้น เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ในกามภูมิ ประกอบด้วยชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรตี และปรนิมมิตสวัตตี ตามลำดับ โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง เหมือนปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน ชั้นในสุดยกเป็น 3 ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน ตัวเสาสะดือเมืองตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา 3 เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน 108 ต้น โดยตัวเสาสะดือเมืองมีขนาดใหญ่เท่ากับ 5 กำพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ 5 กำพระหัตถ์ และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์

เสาสะดือเมืองเชียงรายและเสาบริวารแกะสลักจากหิน โดยฝีมือของนายสิงห์คำ สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยา ปัจจุบันเสาสะดือเมืองเชียงรายนอกจากเป็นสถานที่รำลึกถึงการสร้างเมืองเชียงรายแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
บริเวณข้างเสาสะดือเมืองเชียงราย เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยจอมทอง และเชิงบันไดทางขึ้นไปสู่เสาสะดือเมืองด้านขวามือ มีสิ่งก่อสร้างขนาดย่อมตั้งอยู่ เรียกว่า “กรุวัฒนธรรมเชียงราย” ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมืองวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2544 เพื่อเก็บร่องรอยและหลักฐานทางวัฒนธรรมร่วมสมัยปัจจุบัน ซึ่งกรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้งเมื่อมีอายุครบ 100 ปี หรือในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2644

Posted by: saduemueangchiangrai | มกราคม 13, 2011

ช่วงเทศกาลปีใหม่สากล

ในช่วงเทศกาล ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เสาสะดือเมืองเชียงรายถือเป็นอีกที่หนึ่ง ที่มีผู้ให้ความสนใจ และมักมีเหล่าหมอดูดัง ๆ ที่แนะนำให้ไปสักการะ เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลแก่ตัว จะได้มีการเริ่มปี พ.ศ.ใหม่อย่างสบายใจ เริ่มต้นปีใหม่ด้วยสิ่งดี ๆ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเสริมดวงชะตาชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรีอง ทำการสิ่งใดก็จะมีความราบรื่นและประสบความสำเร็จในชีวิต

Posted by: saduemueangchiangrai | ธันวาคม 15, 2010

เกี่ยวกับเสาสะดือเมืองเชียงราย

เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรจะพลาดชม อีกจุดหนึ่งของเชียงราย
เพราะ เป็นจุดกำเนิดการสร้างเมืองเมืองเชียงรายของพญามังราย

ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ข้างๆ วัดพระธาตุจอมทอง
อันเป็น 1 ใน 9 ของการไหว้พระธาตุ 9 จอม
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย
วิวด้านบนสวยมาก มองลงมาเห็นแม่น้ำกก คดเคี้ยวสวยงาม


          เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอมแบบพนมบาแกง โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน ลานด้านในยกเป็นชั้นๆ จำนวน 6 ชั้น เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ในกามภูมิ ประกอบด้วยชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรตี และปรนิมมิตสวัตตี ตามลำดับ โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง เหมือนปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน ชั้นในสุดยกเป็น 3 ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน ตัวเสาสะดือเมืองตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา 3 เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน 108 ต้น โดยตัวเสาสะดือเมืองมีขนาดใหญ่เท่ากับ 5 กำพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มี ขนาดใหญ่เท่ากับ 5 กำพระหัตถ์ และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์

การเดินทาง จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้นพระธาตุดอยจอมทอง



               งานป๋าเวณีใส่ขันดอกไหว้สาป๋าระมีเสาหลักเมืองเชียงราย เพื่อสืบสานประเพณีโบราณให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสืบทอด
ประชาชนชาวเชียงรายมาร่วมทำพิธีบวงสรวงเสาสะดือเมือง(เสาหลักเมืองเชียงราย)ชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อ และชาวบ้านในชุมชนดอยทอง เขตเทศบาลนครเชียงราย แต่งกายแบบล้านนาโบราณมาร่วมงานป๋าเวณีใส่ขันดอกไหว้สาป๋าระมีเสาหลักเมือง เชียงราย ที่สภาวัฒนธรรมและเทศบาลนครเชียงรายจัดขึ้น เพื่อบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมือง พระเสื้อเมือง ฟื้นฟูประเพณีดั้งเดิม และเพื่อให้เยาวชนได้รู้จักและร่วมสืบทอดประเพณีให้อยู่คู่ชาวล้านนา



การสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย

              งาน ป๋าเวณีใส่ขันดอกไหว้สาป๋าระมีเสาหลักเมืองเชียงราย จัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี โดยผู้มาร่วมงานทุกคนต่างนำดอกไม้ใส่ขันดอกมาร่วมงาน ณ บริเวณเสาสะดือเมืองเชียงราย วัดพระธาตุดอยจอมทอง นอกจากนี้ ยัง ในงานมีการสรงน้ำเสาหลักเมืองการฟ้อนรำของผีมด ผีเม็ง บวงสรวงเสาหลักเมืองเชียงรายซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ชาติบ้านเมืองมีความสงบสุข และนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่บ้านเมือง รวมทั้งสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

Posted by: saduemueangchiangrai | พฤศจิกายน 19, 2010

แผนที่เสาสะดือเมืองเชียงราย

หมวดหมู่